Economy
รู้จัก เกาะฮาชิมะ จากเหมืองถ่านหินของ Mitsubishi สู่แหล่งท่องเที่ยวสยองขวัญ
27 ส.ค. 2023
รู้จัก เกาะฮาชิมะ จากเหมืองถ่านหินของ Mitsubishi สู่แหล่งท่องเที่ยวสยองขวัญ /โดย ลงทุนเกิร์ล
เกาะฮาชิมะ ปัจจุบันเป็นเกาะร้าง อยู่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง
ชื่อเสียงของเกาะฮาชิมะ ถูกกล่าวขวัญกันปากต่อปากว่าเป็น “เกาะร้างผีสิง” ที่เต็มไปด้วยเรื่องสยองขวัญ และอาถรรพ์ต่าง ๆ นานา
ปัจจุบันเกาะแห่งนี้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงระทึกขวัญที่มีชื่อเสียง ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ให้ล่องเรือมาสัมผัสความหดหู่ และน่าขนลุก
แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังของซากตึกร้างบนเกาะนี้ มีร่องรอยของแรงงานเหมืองถ่านหิน กว่า 5,000 ชีวิต ของบริษัท Mitsubishi Mining
กิจการเหมืองถ่านหินแห่งนี้ ดำเนินไปเกือบศตวรรษ ผลิตถ่านหิน หล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในยุคที่ญี่ปุ่นรุ่งเรืองที่สุด รวมแล้วราว 16.5 ล้านตัน
แล้วทำไม Mitsubishi ถึงได้หยุดกิจการเหมืองถ่านหินบนเกาะฮาชิมะ จนมันกลายเป็นเกาะร้าง และตอนนี้กลับเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ?
เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
เกาะฮาชิมะ เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชู ที่อยู่ใต้สุดของญี่ปุ่น
โดยถ้าจะเดินทางไป จะต้องนั่งเรือจากเมืองนางาซากิ ออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร
โดยถ้าจะเดินทางไป จะต้องนั่งเรือจากเมืองนางาซากิ ออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร
เกาะแห่งนี้ ถูกค้นพบว่ามีถ่านหิน โดยชาวประมงขุดถ่านหินเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน มาตั้งแต่ปี 1810
ต่อมาในยุคเมจิ จักรพรรดิให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก
ถ่านหิน จึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะมันคือเชื้อเพลิงสำหรับผลิตพลังงาน ให้กับเครื่องจักรในโรงงาน และการเดินเรือ
ถ่านหิน จึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะมันคือเชื้อเพลิงสำหรับผลิตพลังงาน ให้กับเครื่องจักรในโรงงาน และการเดินเรือ
ทำให้ปี 1872 รัฐบาลในยุคเมจิ ประกาศให้เหมืองถ่านหินทุกแห่งในญี่ปุ่น รวมไปถึงเกาะฮาชิมะ ต้องตกเป็นของรัฐ
อย่างไรก็ตาม ตอนนั้นญี่ปุ่นยังไม่มีเทคโนโลยีสำหรับขุดเจาะโดยเฉพาะ แต่ละเหมืองจึงใช้วิธีบ้าน ๆ โดยการขุดถ่านหินขึ้นมาด้วยแรงกายของคนทั้งสิ้น
ซึ่งทำให้ได้ถ่านหินในปริมาณที่จำกัด แถมต้องแลกมาด้วยจำนวนแรงงานมหาศาล
ซึ่งทำให้ได้ถ่านหินในปริมาณที่จำกัด แถมต้องแลกมาด้วยจำนวนแรงงานมหาศาล
ต่อมาปี 1890 ตระกูลขุนนางที่เป็นเจ้าเมือง ได้ขายเกาะฮาชิมะ ให้กับบริษัท Mitsubishi ไปในราคา 1 แสนเยน หรือราว 482 ล้านบาทในปัจจุบัน
Mitsubishi ในขณะนั้น ทำธุรกิจเดินเรือเป็นหลัก แต่ก็ได้ขยายกิจการมาทำเหมืองด้วย เพราะการเดินเรือ ต้องใช้ถ่านหินจำนวนมาก
(ซึ่งต่อมา Mitsubishi ก็ได้ตั้งบริษัทสำหรับเหมืองถ่านหินแยกออกมา ชื่อ Mitsubishi Mining และได้ปรับโครงสร้างองค์กร กลายเป็น Mitsubishi Materials ของเครือ Mitsubishi Group ในปัจจุบัน)
ที่เกาะฮาชิมะ Mitsubishi ได้ลงทุนพัฒนาพื้นที่ ทั้งในส่วนของเหมืองถ่านหิน และที่อยู่อาศัยของแรงงาน
ซึ่งเดิมที เกาะฮาชิมะมีพื้นที่ราว 12.5 ไร่ แต่หลังจาก Mitsubishi เข้ามาทำเหมือง ก็ได้ถมเกาะเพิ่มพื้นที่ถึง 3 เท่า เป็น 37.5 ไร่
พื้นที่ราว ๆ ครึ่งหนึ่งของเกาะเป็นเหมืองถ่านหิน และอาคารสำนักงาน
โดย Mitsubishi ได้นำเทคโนโลยีการขุดเจาะของยุโรปมาใช้ ทำให้สามารถขุดลงไปใต้ดิน ได้หลายร้อยเมตร
โดย Mitsubishi ได้นำเทคโนโลยีการขุดเจาะของยุโรปมาใช้ ทำให้สามารถขุดลงไปใต้ดิน ได้หลายร้อยเมตร
ส่วนพื้นที่อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ เป็นหอพัก และสถานที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับแรงงานและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล ร้านค้า วัด สนามกีฬา โรงหนัง
รวมแล้ว เกาะฮาชิมะ มีตึกสูงต่ำอยู่กว่า 30 ตึก
รวมแล้ว เกาะฮาชิมะ มีตึกสูงต่ำอยู่กว่า 30 ตึก
นอกจากนี้ Mitsubishi ยังสร้างกำแพงกันคลื่นขนาดใหญ่ ล้อมรอบเกาะ เพื่อป้องกันพื้นดินที่ถมเพิ่ม ทรุดจากคลื่นพายุ
ด้วยเหตุนี้เอง ถ้ามองจากฝั่ง เกาะแห่งนี้ก็จะเหมือนกับเรือขนาดใหญ่ ลอยอยู่กลางทะเล
ทำให้เกาะฮาชิมะ มีอีกชื่อหนึ่งคือ เกาะกุนคันจิมะ ที่แปลว่า “เกาะเรือรบ” นั่นเอง
ทำให้เกาะฮาชิมะ มีอีกชื่อหนึ่งคือ เกาะกุนคันจิมะ ที่แปลว่า “เกาะเรือรบ” นั่นเอง
ซึ่งช่วง 24 ปีแรก (ค.ศ. 1890-1914) Mitsubishi ขุดถ่านหินได้ปีละประมาณ 1-2 แสนตัน ด้วยแรงงานราว 3,000 คน
ต่อมา ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) ญี่ปุ่นเป็นแกนนำฝ่ายอักษะร่วมกับเยอรมนีและอิตาลี
Mitsubishi จึงต้องโหมขุดถ่านหินบนเกาะฮาชิมะ เพื่อใช้ในสงคราม โดยสามารถขุดถ่านหินได้มากถึง 410,000 ตันต่อปีเลยทีเดียว
Mitsubishi จึงต้องโหมขุดถ่านหินบนเกาะฮาชิมะ เพื่อใช้ในสงคราม โดยสามารถขุดถ่านหินได้มากถึง 410,000 ตันต่อปีเลยทีเดียว
ช่วงนี้เอง ทำให้มีแรงงานไหลเพิ่มเข้ามา จนแตะ 5,300 คน ทั้งแรงงานญี่ปุ่น และเชลยสงครามจากเกาหลีและจีน
แม้ญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยมี GDP สูงกว่าก่อนสงครามโลกเสียอีก
เพราะญี่ปุ่น ได้หันมาโฟกัสกับเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก เริ่มทำการค้ากับต่างประเทศ และเป็นช่วงที่เริ่มผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์
ซึ่งก็ส่งผลให้กิจการเหมืองถ่านหินทั่วญี่ปุ่น รวมถึงเกาะฮาชิมะ ไม่ได้หยุดชะงัก แม้จะไม่มีอุปสงค์จากสงครามแล้วก็ตาม
อย่างไรก็ดี ช่วงปลายของยุค 1960 เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น เริ่มเปลี่ยนมาใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม แทนถ่านหิน
ทำให้เหมืองถ่านหินในญี่ปุ่นค่อย ๆ ปิดตัวลง รวมไปถึงเกาะฮาชิมะ โดย Mitsubishi ก็ทยอยส่งแรงงานกลับฝั่ง จนปิดเกาะถาวรในปี 1974
หลังจากปล่อยทิ้งร้างไปนาน Mitsubishi ก็ได้คืนเกาะให้กับทางการ โดยอยู่ในเขตการปกครองของเมืองนางาซากิ ในปี 2001
และด้วยความที่เป็นเกาะกลางทะเล ที่อัดแน่นไปด้วยตึกคอนกรีตร้าง ดูลึกลับ น่าค้นหา ทำให้เกาะฮาชิมะถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายภาพยนตร์ระดับโลกอย่าง James Bond 007 Skyfall (2012)
นอกจากนี้ เรื่องราวที่ดรามาสู้ชีวิตของแรงงาน และบรรยากาศน่าขนลุกของเกาะฮาชิมะ ยังถูกนำมาสร้างเป็นฉากหลังของภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น The Battleship Island (2017), Attack On Titan (2015), ฮาชิมะ โปรเจกต์ ไม่เชื่อ ต้องลบหลู่ (2013)
แถมในปี 2015 UNESCO ได้ประกาศให้เกาะฮาชิมะเป็น “มรดกโลก” ที่เป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ในยุคที่ญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจของโลกอีกด้วย
ทั้งภาพยนตร์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และร่องรอยที่เหลืออยู่นั้น สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มายังเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ได้เป็นจำนวนมาก
จากไม่ถึง 60,000 คนในปี 2009
เป็นกว่า 300,000 คนในปี 2015
หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่าภายใน 6 ปีเลยทีเดียว
เป็นกว่า 300,000 คนในปี 2015
หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่าภายใน 6 ปีเลยทีเดียว
อ่านมาถึงตรงนี้ และลองเดินถอยออกมา มองภาพกว้าง
ตลอดระยะเวลา 84 ปี ที่ Mitsubishi ครอบครองเกาะฮาชิมะ เกาะแห่งนี้ถือเป็นอีกสถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจในอดีต ที่ส่งถ่านหินมากถึง 16.5 ล้านตัน มาหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของญี่ปุ่น
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เบื้องหลังของความยิ่งใหญ่นี้ มาจากหยาดเหงื่อแรงกายของคนตัวเล็กตัวน้อย จำนวนมาก
ที่ถูกเกณฑ์มาทำงานหนัก และอยู่อย่างแออัดบนเกาะแห่งนี้
ที่ถูกเกณฑ์มาทำงานหนัก และอยู่อย่างแออัดบนเกาะแห่งนี้
และสุดท้าย ด้วยบรรยากาศอันลึกลับ และเรื่องราวที่ไม่ธรรมดาในหลาย ๆ แง่มุม
ทำให้เกาะร้างฮาชิมะ กลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมสื่อ ในที่สุด..
ทำให้เกาะร้างฮาชิมะ กลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมสื่อ ในที่สุด..
References
-http://www.mitsubishicarbide.com/it/magazine/article/vol07/gunkanjima-island
-https://www.mmc.co.jp/corporate/en/company/aboutus/
-https://www.mmc.co.jp/corporate/en/company/aboutus/digest.html
-https://blogs.ubc.ca/buildingempire/2021/04/26/hashima-island-difficult-heritage/
-http://www.uwosh.edu/faculty_staff/earns/hashima.html
-https://apjjf.org/2018/01/Palmer.html
-http://www.mitsubishicarbide.com/it/magazine/article/vol07/gunkanjima-island
-https://www.mmc.co.jp/corporate/en/company/aboutus/
-https://www.mmc.co.jp/corporate/en/company/aboutus/digest.html
-https://blogs.ubc.ca/buildingempire/2021/04/26/hashima-island-difficult-heritage/
-http://www.uwosh.edu/faculty_staff/earns/hashima.html
-https://apjjf.org/2018/01/Palmer.html