
Business
ถอดบทเรียนธุรกิจ แบรนด์แฟชั่นคนไทย เจ้าแม่ Sold Out สร้างแบรนด์อย่างไรให้ลูกค้าแย่งกันซื้อ
11 ก.ค. 2025
ถอดบทเรียนธุรกิจ แบรนด์แฟชั่นคนไทย เจ้าแม่ Sold Out สร้างแบรนด์อย่างไรให้ลูกค้าแย่งกันซื้อ /โดย ลงทุนเกิร์ล
ในช่วงเวลาที่คนทำธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งการแข่งขันอันดุเดือดขึ้นจากทั้งรายใหญ่และรายเล็ก ซึ่งสวนทางกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง
ในช่วงเวลาที่คนทำธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งการแข่งขันอันดุเดือดขึ้นจากทั้งรายใหญ่และรายเล็ก ซึ่งสวนทางกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง
แต่ในวงการแฟชั่นไทย กลับมีแบรนด์ที่ยังคงเป็นดาวเด่นสวนทางบรรยากาศเศรษฐกิจ
เพราะถ้าลองมาดูผลประกอบการของแบรนด์ต่อไปนี้
เพราะถ้าลองมาดูผลประกอบการของแบรนด์ต่อไปนี้
GENTLEWOMAN ปี 2567 ที่ผ่านมา
รายได้ 2,067 ล้านบาท กำไร 618 ล้านบาทRally Movement ปี 2567 ที่ผ่านมา
รายได้ 459 ล้านบาท กำไร 201 ล้านบาท
รายได้ 2,067 ล้านบาท กำไร 618 ล้านบาทRally Movement ปี 2567 ที่ผ่านมา
รายได้ 459 ล้านบาท กำไร 201 ล้านบาท
อะไรคือจุดแข็งที่ทำให้ทั้งสองแบรนด์ ยังคงรักษาการเติบโตได้ ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
GENTLEWOMAN ก่อตั้งเมื่อปี 2561 โดยคุณแพง-รยา วรรณภิญโญ และกลุ่มเพื่อนจากคณะบัญชี จุฬาฯ ก่อนจะกลายมาเป็นกระแสในช่วงวิกฤติโรคระบาด
และนับตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปีที่ผ่านมา GENTLEWOMAN ทำรายได้เติบโตเฉลี่ย 130.5% ต่อปี กำไรเติบโตเฉลี่ย 235.8% ต่อปี
ปัจจุบันถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เป็นที่ต้องการของทั้งลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ
มีสินค้ายอดฮิตอย่างกระเป๋าผ้า GW Canvas Tote Bag และ GENTLEWOMAN Dumpling Bag กระเป๋าเกี๊ยวดิไซน์เก๋ แปะโลโกแบรนด์ขนาดใหญ่ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้กระเป๋าของ GENTLEWOMAN มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น
ขณะที่ Rally Movement ของคุณเค้ก-อภิพรรณ มงคลพาณิชยกิจ และคุณปั๊ม-นิธิศ วงศ์สวัสดิ์ แบรนด์ไทยเจ้าของกระเป๋าทรง Bucket ตัวดัง ชนิดที่ว่าสามารถขายหมดในหลักวินาที
หากมาดูที่ผลประกอบการของ Rally Movement ซึ่งสอดคล้องกับความนิยมของแบรนด์ที่เราเห็นกัน โดยช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2563-2567 รายได้เติบโตเฉลี่ย 173.3% ต่อปี และกำไรเติบโตเฉลี่ย 217.5% ต่อปี
แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ทั้งสองแบรนด์ยืนระยะความฮิตมาได้จนถึงทุกวันนี้ ?
ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ในการที่จะทำให้แบรนด์สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง ทั้งสองแบรนด์มีกลยุทธ์ที่คล้ายกันคือ การให้ความสำคัญกับการออกแบบสินค้าโดยยึดลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง (Customer Centric)
อย่าง GENTLEWOMAN ก็เชื่อว่าการตลาดที่คุ้มค่าที่สุด คือ “สินค้าที่ตรงใจลูกค้า”
ดังนั้นกว่าจะออกสินค้าใหม่แต่ละครั้ง ทางแบรนด์ได้เก็บข้อมูลจากคอลเลกชันเก่าเพื่อนำมาวิเคราะห์ และพัฒนาเป็นสินค้าใหม่ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
หรือแม้แต่ในช่วงโควิด-19 GENTLEWOMAN ก็ได้ปรับเปลี่ยนสินค้าให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น เปลี่ยนผ้าปูนอนชายหาดในคอลเลกชันฤดูร้อน มาเป็นผ้าห่มสำหรับทำงานที่บ้าน
ขณะที่ Rally Movement เองก็ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลลูกค้า ระดมไอเดีย ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้สินค้าออกมา และต้องผ่านการทดลองใช้กันเองก่อน เพื่อให้ทราบทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของสินค้าก่อนวางขายจริง
กระเป๋าตัวฮิตอย่าง Rally The Bag ก็มีโจทย์สำคัญคือฟังก์ชันการใช้งาน ที่ผ่านการคิดมาแล้วว่าต้องมีน้ำหนักเบา ใส่ของได้เยอะ แต่ก็ต้องสวย คลาสสิก เข้าได้กับทุกชุด ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หลายคนต้องการ
หาจุดเด่นของแบรนด์ให้เจอ
สิ่งที่ทำให้คนเริ่มรู้จัก GENTLEWOMAN และจำได้ มาจากลวดลายบนกระเป๋า ซึ่งก็คือโลโกชื่อแบรนด์ขนาดใหญ่สะดุดตา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ทำให้คนเห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่านี่คือแบรนด์อะไร
นอกจากนี้ทางแบรนด์ยังใช้วิธีออกสินค้าบ่อย ๆ ซึ่งมีทั้งคอลเลกชันใหม่จากแบรนด์เอง รวมถึงคอลเลกชันคอลแลบกับดิไซเนอร์หรือแบรนด์อื่น ๆ ให้ลูกค้าเห็นความสดใหม่ และความหลากหลาย จนกลายเป็นพื้นที่ให้ได้แวะเวียนมาอยู่เสมอ
เช่นเดียวกับ Rally Movement ที่มีจุดเด่นในการนำโลโกมาเป็นลูกเล่นอยู่ในสินค้าได้อย่างลงตัว
และยังมีการนำดิไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์อย่างความเชี่ยวชาญด้าน Knitwear หรือเสื้อผ้าถัก ทอลายโลโกด้วยเทคนิค Sturdy Stretch Knit ออกมาเป็นกระเป๋า Rally The Bag ตัวซิกเนเชอร์ ที่ทำให้แบรนด์ยิ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้น
ยังไม่รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า และการสร้าง Brand Awareness อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกสินค้าที่หลากหลายในแบบฉบับของ GENTLEWOMAN
หรือการโปรโมตสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์หรือคนดัง จนทำให้เราเห็นโลโก Rally Movement ผ่านหน้าไทม์ไลน์เสมอ
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ทั้งสองแบรนด์มีเหมือนกันคือการผสมผสานระหว่างตัวตนที่ชัดเจนของแบรนด์ และสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ซึ่งก็ต้องมาจากการพยายามทำความเข้าใจตลาด และไม่หยุดที่จะปรับตัว..
References :
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ช่องทางออนไลน์ของแบรนด์, บทสัมภาษณ์จากลงทุนเกิร์ล, รายการ DAY BUILD