“ต้นไม้มีค่า” หลักทรัพย์รูปแบบใหม่ ที่ใช้ค้ำเงินกู้ได้
Business

“ต้นไม้มีค่า” หลักทรัพย์รูปแบบใหม่ ที่ใช้ค้ำเงินกู้ได้

10 ก.พ. 2023
“ต้นไม้มีค่า” หลักทรัพย์รูปแบบใหม่ ที่ใช้ค้ำเงินกู้ได้ /โดย ลงทุนเกิร์ล
รู้หรือไม่ว่า ต้นมะขามป้อม, ไม่ไผ่, ต้นมะม่วง และต้นทุเรียน
คือหนึ่งใน “กลุ่มไม้มีค่า” ที่เราสามารถนำมาใช้กู้เงินได้
และแม้ว่าเรื่องนี้จะยังใหม่ในสังคมไทย
แต่ปัจจุบัน มีคนนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันแล้วกว่า 1.5 แสนต้น
ซึ่งรวมเป็นเงินค้ำประกันกว่า 137 ล้านบาท
แล้วเราจะใช้ต้นไม้ไปค้ำประกันเงินกู้ได้อย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะสรุปให้ฟัง
โดยปกติแล้ว สินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้
มักจะต้องมีมูลค่าในตัวเอง และยังต้องสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ไม่ยากจนเกินไป
ส่วนทรัพย์สินที่นิยมใช้เป็น “หลักประกันทางธุรกิจ” เช่น
-กิจการ
-สิทธิ เช่น สัญญาเช่า ลูกหนี้การค้า
-สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร และสินค้าคงคลัง
-อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน และหมู่บ้านจัดสรร
-ทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ
แต่รู้หรือไม่ว่า “ต้นไม้” ก็สามารถเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ได้เหมือนกัน
ซึ่งในประเทศไทย มีต้นไม้ที่นำมาค้ำประกันเงินกู้ได้ทั้งหมด 58 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น
ไม้สัก, จามจุรี, ไผ่ทุกชนิด, ไม้สกุลมะม่วง, ไม้สกุลทุเรียน, มะขาม, กฤษณา, ไม้สกุลยาง, นางพญาเสือโคร่ง และต้นมะขามป้อม
ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ถือเป็น ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
และมีความต้องการในตลาด เพื่อนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ
เช่น เป็นวัสดุสร้างบ้าน หรือทำเฟอร์นิเจอร์
โดยราคาของต้นไม้แต่ละชนิด ก็จะมีระดับราคาที่แตกต่างกันไป ตามความต้องการในตลาด และการใช้ประโยชน์
ซึ่งในกรณีที่เราปลูกต้นไม้มีค่าบนที่ดินเปล่า ก็จะทำให้ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับราคาของต้นไม้เหล่านั้น
หรือถ้าพูดให้เห็นภาพชัดขึ้น ก็จะคล้ายกับการที่เราปลูกบ้านไว้บนที่ดิน เมื่อเราประเมินมูลค่ารวมก็ย่อมมีมูลค่าสูงกว่าที่ดินเปล่า ๆ นั่นเอง
แต่ก็ไม่ใช่ว่า แค่ปลูกต้นไม้เหล่านี้บนที่ดิน แล้วจะสามารถนำไปใช้กู้เงินได้ทันที เพราะต้นไม้ที่ปลูกจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ด้วย เช่น
-ต้นไม้ต้องมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป มีขนาดเส้นรอบวงไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร
-ลำต้นตรง สมส่วน อย่างน้อย 2 เมตรขึ้นไป วัดที่ความสูง 130 เซนติเมตรจากโคนต้น
-การเจริญเติบโตของลำต้นสมดุลกับความสูง โดยเปรียบเทียบจากเส้นรอบวงที่วัดได้กับตารางปริมาณ
โดยราคาของเนื้อไม้จะสูงหรือต่ำ จะแบ่งตามประเภทของต้นไม้ 4 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น
มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ กลุ่มนี้จะมีมูลค่าไม่สูง เช่น ยูคาลิปตัส และสัตบรรณ
กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว
มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น ประดู่ และยางนา
กลุ่มที่ 3 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว
มูลค่าของเนื้อไม้สูง เช่น ไม้สัก และมะตูม
กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว
มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก เช่น พะยูง และชิงชัน
โดยการให้สินเชื่อจะอยู่ที่ 50% ของราคาประเมินของต้นไม้ชนิดนั้น ๆ
รวมถึงจะต้องมีกรรมการ และสมาชิกธนาคารอย่างน้อย 3 คน ร่วมประเมินมูลค่าของต้นไม้ด้วย
สำหรับการใช้ต้นไม้เหล่านี้ในการค้ำประกันเงินกู้ สามารถทำได้บางสถาบันการเงินเท่านั้น
ซึ่งในปัจจุบันมี 3 ผู้ให้บริการ ได้แก่
-ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
-ธนาคารกรุงไทย
-กลุ่มผู้ให้สินเชื่อรายย่อย (พิโกไฟแนนซ์) บางแห่ง
แม้จะมีข้อกำหนดที่ค่อนข้างละเอียด
แต่ปัจจุบันมีคนที่ใช้ต้นไม้เหล่านี้ ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารจำนวนไม่น้อย
โดยสถิติการจดทะเบียนการนำต้นไม้มาเป็นหลักประกัน มีจำนวนรวม 1.5 แสนต้น ซึ่งรวมเป็นเงินค้ำประกันกว่า 137 ล้านบาทแล้ว (ข้อมูล ณ 30 มิ.ย. 65)
แต่อย่างไรก็ตาม การค้ำประกันด้วยต้นไม้มีค่า ถือเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการกู้ยืมเงินเท่านั้น
เพราะหากเราจะทำการกู้ยืมเงินจริง ๆ ก็ไม่ควรลืมพิจารณาทั้งเรื่องของ ดอกเบี้ย และความสามารถในการใช้คืนหนี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จากที่จะได้ประโยชน์จากการกู้ยืม ก็อาจทำให้เราติดกับดักหนี้มหาศาลแทน..
-------------------------------------------------
(ad)กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป (TANACHIRA) เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์ แฟชั่นแบรนด์ชั้นนำจากต่างประเทศได้แก่ Pandora (แพนดอร่า), Marimekko (มารีเมกโกะ), Cath Kidston (แคท คิดสตัน) และเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลผิวพรรณ สปาแบบองค์รวมรายแรกในไทยภายใต้แบรนด์ HARNN (หาญ), VUUDH (วุฒิ), HARNN Heritage Spa (หาญ เฮอริเทจสปา) และ SCape by HARNN (เอสเคป บาย หาญ) มีสาขาอยู่ทั่วประเทศและในภูมิภาคกว่า 165 สาขา ภายใต้แนวคิด “Bring the Best of the Brand to the Best of Thailand”
https://www.facebook.com/TANACHIRA-GROUP-174055739828807/
#TANACHIRA
-------------------------------------------------
© 2024 Longtungirl. All rights reserved. Privacy Policy.