ช็อปดี แต่อาจไม่มีคืน ถ้าไม่เข้าใจเงื่อนไข Easy E-Receipt 2.0
Business

ช็อปดี แต่อาจไม่มีคืน ถ้าไม่เข้าใจเงื่อนไข Easy E-Receipt 2.0

16 ม.ค. 2025
ช็อปดี แต่อาจไม่มีคืน ถ้าไม่เข้าใจเงื่อนไข Easy E-Receipt 2.0 /โดย ลงทุนเกิร์ล
ก่อนที่จะรีบออกไปช็อป เพื่อหวังลดหย่อนภาษี จากมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 เราลองมาทำความเข้าใจเงื่อนไขกันสักเล็กน้อย
เพราะถ้าหากเข้าใจผิด หรือไม่ได้ทำตามเงื่อนไข เงินที่ช็อปไปแล้วอาจใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้แบบที่หวัง
แล้วมีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้ ? ลงทุนเกิร์ลจะสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่นต้องบอกว่า “Easy E-Receipt 2.0” เป็นโครงการที่เราจะเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีของปี 2568 หรืออธิบายแบบง่าย ๆ คือ เราที่ช็อปกันตอนนี้ จะได้เอาไปใช้สิทธิลดหย่อนจริง ๆ คือ ตอนที่เราจะยื่นภาษี ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม ปี 2569
ทั้งนี้มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์เล็กน้อย โดยแบ่งวงเงินออกเป็น 2 ก้อน
ส่วนแรก แบ่งเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไปให้ครบ 30,000 บาท เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนแรกส่วนที่สอง ช็อปเพิ่มอีก 20,000 บาท ถ้าอยากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท แต่ต้องซื้อสินค้าหรือบริการจาก OTOP, วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม
หรืออีกทางคือ จะซื้อสินค้า OTOP, วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ครบ 50,000 บาททีเดียวก็ได้
อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า
ช็อป 50,000 บาท ไม่เท่ากับ ได้ลดหย่อนภาษี 50,000 บาทต้องขอเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice/e-Receipt) เท่านั้นช็อปเพื่อลดหย่อนภาษี ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ได้ และต้องซื้อภายในช่วงเวลาที่กำหนด
ทีนี้เราไปดูกันว่า แต่ละเงื่อนไขมีรายละเอียดอย่างไร ?
เริ่มต้นที่ เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะได้ลดหย่อนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ “เงินได้สุทธิ” ของแต่ละคน ซึ่งมีเกณฑ์ ดังนี้
เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาท
ได้รับการยกเว้นภาษี ลดหย่อนได้ 0 บาท
เงินได้สุทธิ 150,001 - 300,000 บาท อัตราภาษี 5%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 1,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 2,500 บาท
เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 3,000 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 5,000 บาท
เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 4,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 7,500 บาท
เงินได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 6,000 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 10,000 บาท
เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 7,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 12,500 บาท
เงินได้สุทธิ 2,000,000 - 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท
เงินได้สุทธิ 5,000,000 บาท ขึ้นไป อัตราภาษี 35%
ใช้สิทธิ์ 30,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 10,500 บาท
ใช้สิทธิ์ 50,000 บาท ลดหย่อนได้สูงสุด 17,500 บาท
*สำหรับใครที่อยากรู้ว่า เงินได้สุทธิ คืออะไร สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.longtungirl.com/9297
ดังนั้น ถ้าคิดจะช็อปโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดหย่อนภาษีให้ได้มากขึ้น ก็อย่าลืมเช็กเรื่อง “เงินได้สุทธิ” ของตัวเองก่อนว่าอยู่ในระดับที่ต้องเสียภาษีมากหรือน้อย
เพราะในกรณีที่ได้ยกเว้นภาษีอยู่แล้ว เงินที่ช็อปไป ก็ไม่ได้ช่วยให้ลดหย่อนภาษีได้มากขึ้นเลย
เรื่องต่อมาที่จะพลาดไม่ได้ คือ “ใบกำกับภาษี”
และ “ใบรับ” ไม่สามารถใช้รูปแบบกระดาษแทนได้
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ อย่างครบถ้วน
โดยระบบออกใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ จะมี 2 แบบ 1. Etax invoice & Receipt2. Etax invoice by timestamp
ซึ่งสำหรับรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ by timestamp สามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.rd.go.th/27659.html (เลือกหัวข้อ “ผู้ได้รับอนุมัติ”)
เพราะฉะนั้นก่อนช็อป อย่าลืมวางแผนให้ดีว่าจะขอเอกสารแบบไหน หรือร้านที่เราจะไปซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ สามารถออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้หรือไม่
เพราะฉะนั้นก่อนช็อป อย่าลืมวางแผนให้ดีว่าจะขอเอกสารแบบไหน หรือร้านที่เราจะไปซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ สามารถออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้หรือไม่
ที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไข ที่กฎหมายอนุญาตให้หักลดหย่อนได้
ตัวอย่างสินค้าที่ไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรการนี้ เช่น
สุรา, เบียร์, ไวน์, ยาสูบซื้อรถยนต์, จักรยานยนต์น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้าค่าบริการสัญญาณมือถือ-บริการอินเทอร์เน็ตค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
และเราจะต้องซื้อสินค้าภายในวันที่ 16 ม.ค. - 28 ก.พ. 2568 เท่านั้น หากเกินระยะเวลาที่กำหนดต่อให้มีเอกสารครบถ้วนก็ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อยู่ดี
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครที่คำนวณออกมาแล้วเงินได้สุทธิยังสูง และต้องการหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมแถมมีแผนที่จะซื้อของนั้น ๆ อยู่แล้ว ก็อย่าลืมรีบใช้สิทธิ์ภายใน 28 ก.พ. นี้ และขอใบกำกับภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข จะสามารถลดหย่อนภาษีไปได้เต็ม ๆ
© 2025 Longtungirl. All rights reserved. Privacy Policy.