
Lifestyle
เส้นแบ่งของ “การลอกเลียนแบบ” และ “ได้แรงบันดาลใจ” คืออะไร ? แล้วจะปกป้องผลงานของเราได้อย่างไร
24 เม.ย. 2021
เส้นแบ่งของ “การลอกเลียนแบบ” และ “ได้แรงบันดาลใจ” คืออะไร ? แล้วจะปกป้องผลงานของเราได้อย่างไร /โดย ลงทุนเกิร์ล
“Good artists copy, great artists steal” คำกล่าวของสตีฟ จอบส์
ที่ดัดแปลงมาจาก “Good artists borrow, great artists steal”
ซึ่งเป็นคำพูดของ ปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินชาวสเปนชื่อดัง
ที่ดัดแปลงมาจาก “Good artists borrow, great artists steal”
ซึ่งเป็นคำพูดของ ปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินชาวสเปนชื่อดัง
ความหมายของผู้ที่เปรียบเสมือนนักสร้างสรรค์แห่งยุคทั้งสองนี้ก็คือ
มันไม่ใช่เรื่องผิด ที่การสร้างผลงานจะต้องอาศัย “แรงบันดาลใจ”
มันไม่ใช่เรื่องผิด ที่การสร้างผลงานจะต้องอาศัย “แรงบันดาลใจ”
โดยศิลปินที่ได้แรงบันดาลใจมาพัฒนาผลงาน
แต่ถ้าผู้คนก็ยังคงจำได้ว่า ผลงานเหล่านั้นมีที่มาจากแหล่งใด
ก็เปรียบได้กับการ “ยืม” หรือ “ก๊อบปี้” ผลงานคนอื่น ซึ่งก็จะเป็นได้เพียง “ศิลปินที่ดี” เท่านั้น
แต่ถ้าผู้คนก็ยังคงจำได้ว่า ผลงานเหล่านั้นมีที่มาจากแหล่งใด
ก็เปรียบได้กับการ “ยืม” หรือ “ก๊อบปี้” ผลงานคนอื่น ซึ่งก็จะเป็นได้เพียง “ศิลปินที่ดี” เท่านั้น
แต่ถ้าอยากเป็น “ศิลปินที่ยิ่งใหญ่” จะนำแรงบันดาลใจที่ได้มาต่อยอดให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของเรา
จนทำให้ผลงานเหล่านั้นกลายมาเป็นของเราโดยสมบูรณ์
ซึ่งก็เหมือนการ “ขโมย” ผลงานของคนอื่น ให้กลายมาเป็นของเราโดยที่ไม่มีใครรู้นั่นเอง
จนทำให้ผลงานเหล่านั้นกลายมาเป็นของเราโดยสมบูรณ์
ซึ่งก็เหมือนการ “ขโมย” ผลงานของคนอื่น ให้กลายมาเป็นของเราโดยที่ไม่มีใครรู้นั่นเอง
สำหรับปัญหาการลอกเลียนแบบผลงาน น่าจะเป็นเรื่องที่พบเจอบ่อยครั้งในวงการงานออกแบบ
ซึ่งบางครั้งมันอาจเป็นเรื่องบังเอิญจริง ๆ ที่ผลงานของเราจะไปคล้ายกับผลงานของผู้อื่น
แต่บางครั้งมันก็ดูเหมือนจะเป็นการลอกเลียนแบบอย่างชัดเจน
แต่บางครั้งมันก็ดูเหมือนจะเป็นการลอกเลียนแบบอย่างชัดเจน
เส้นแบ่งของเรื่องนี้อยู่ที่ตรงไหน ?
แล้วเราจะสามารถป้องกันผลงานของเราจากการถูกคัดลอกอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
แล้วเราจะสามารถป้องกันผลงานของเราจากการถูกคัดลอกอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
แอนดี วอร์ฮอล ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งศิลปะ Pop Art ผู้ฝากผลงานที่ไม่ว่าใครก็รู้จัก
อย่างรูปที่เป็นแพตเทิร์นหลากสี ของกระป๋องซุป Campbell’s หรือรูปมาริลีน มอนโร
อย่างรูปที่เป็นแพตเทิร์นหลากสี ของกระป๋องซุป Campbell’s หรือรูปมาริลีน มอนโร
อย่างไรก็ตามเขาเคยถูกมองว่า ไปลอกเลียนแบบมาจากศิลปินชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่ง
เธอคนนั้นก็คือ ยาโยอิ คุซามะ หรือเจ้าแม่ลายจุด
ซึ่งมีผลงานโดดเด่นในด้านงานวาดแบบแพตเทิร์นเช่นเดียวกัน
เธอคนนั้นก็คือ ยาโยอิ คุซามะ หรือเจ้าแม่ลายจุด
ซึ่งมีผลงานโดดเด่นในด้านงานวาดแบบแพตเทิร์นเช่นเดียวกัน
โดยภาพยนตร์เรื่อง “Kusama: Infinity” ได้เล่าเอาไว้ว่า
ในปี 1964 ยาโยอิ คุซามะ ได้จัดแสดงนิทรรศการ Aggregation: One Thousand Boats Show
ซึ่งเป็นการนำรูปเรือจำนวนมาก มาติดตามผนังและพื้น จนกลายเป็นลวดลายแพตเทิร์น
ในปี 1964 ยาโยอิ คุซามะ ได้จัดแสดงนิทรรศการ Aggregation: One Thousand Boats Show
ซึ่งเป็นการนำรูปเรือจำนวนมาก มาติดตามผนังและพื้น จนกลายเป็นลวดลายแพตเทิร์น
หนึ่งในผู้ชมที่เข้ามาดูผลงานชิ้นนั้นของเธอก็คือ แอนดี วอร์ฮอล
ซึ่งเขาก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ผลงานชิ้นนี้มันมหัศจรรย์มาก และฉันก็ชอบมันมากเลย”
ซึ่งเขาก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ผลงานชิ้นนี้มันมหัศจรรย์มาก และฉันก็ชอบมันมากเลย”
และในเวลาต่อมา แอนดี วอร์ฮอล ก็ได้จัดงานนิทรรศการในปี 1966
โดยผลงานของเขาเป็นงานแสดงแพตเทิร์นรูปวัวติดอยู่ตามผนังเต็มไปหมด
โดยผลงานของเขาเป็นงานแสดงแพตเทิร์นรูปวัวติดอยู่ตามผนังเต็มไปหมด
ยาโยอิ คุซามะ จึงได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า
“ฉันประหลาดใจมาก ที่เขานำสิ่งที่ฉันทำ ไปลอกเลียนในงานแสดงของเขา”
“ฉันประหลาดใจมาก ที่เขานำสิ่งที่ฉันทำ ไปลอกเลียนในงานแสดงของเขา”
แต่สุดท้ายแล้ว เหตุการณ์นี้ก็ไม่ได้เกิดการฟ้องร้องแต่อย่างใด
เพราะจริง ๆ แล้วการที่จะเอาผิดผู้อื่น ต้องมาจากความต้องการของเจ้าของผลงานด้วย
และหลาย ๆ ครั้งก็มักไม่เกิดขึ้น เพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่คุ้มกับสิ่งที่ต้องเสียไป
ไม่ว่าจะเป็นเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
และหลาย ๆ ครั้งก็มักไม่เกิดขึ้น เพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่คุ้มกับสิ่งที่ต้องเสียไป
ไม่ว่าจะเป็นเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีของแอนดี วอร์ฮอล
ก็มีคนมองว่าเขาไม่ได้ลอกเลียนแบบ แต่ได้รับ “แรงบันดาลใจ” จากคนอื่นเท่านั้น
ก็มีคนมองว่าเขาไม่ได้ลอกเลียนแบบ แต่ได้รับ “แรงบันดาลใจ” จากคนอื่นเท่านั้น
ซึ่งเรื่องนี้ก็คงตัดสินอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าสรุปแล้วใครถูกหรือผิดกันแน่ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
แล้วถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับผลงานของเราบ้าง เราควรจะจัดการอย่างไร ?
โดยปกติผลงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจะถูกคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันที
และการคุ้มครองนั้นจะมีอายุถึง 50 ปี หลังจากที่เจ้าของผลงานเสียชีวิต
หรือถ้าเป็นในกรณีที่ผลิตผลงานแบบนิติบุคคล
งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 50 ปีหลังจากวันแรกที่ได้ทำการเผยแพร่
และการคุ้มครองนั้นจะมีอายุถึง 50 ปี หลังจากที่เจ้าของผลงานเสียชีวิต
หรือถ้าเป็นในกรณีที่ผลิตผลงานแบบนิติบุคคล
งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 50 ปีหลังจากวันแรกที่ได้ทำการเผยแพร่
นั่นหมายความว่าจริง ๆ แล้วแค่เราปล่อยผลงานออกมา
เราก็ถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานนั้นทันที โดยที่ไม่ต้องไปจดทะเบียนที่ไหน
เราก็ถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานนั้นทันที โดยที่ไม่ต้องไปจดทะเบียนที่ไหน
แต่หลังจากที่เลยระยะเวลาที่กฎหมายคุ้มครองแล้ว
ผลงานเหล่านั้นก็จะถือเป็นสิทธิ์ของสาธารณะ
ผลงานเหล่านั้นก็จะถือเป็นสิทธิ์ของสาธารณะ
อย่างในกรณีภาพผลงานศิลปะชื่อดังของวินเซนต์ แวน โก๊ะ ชื่อ The Starry Night
ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ถูกนำมาวาดใหม่ หรือนำมาทำเป็นลวดลายบนสินค้ามากมาย
ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ถูกนำมาวาดใหม่ หรือนำมาทำเป็นลวดลายบนสินค้ามากมาย
ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้ ก็ไม่ได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของวินเซนต์ แวน โก๊ะ แต่อย่างใด
เนื่องจากผลงานนี้ถูกปล่อยออกมาตั้งแต่ปี 1889 และวินเซนต์ แวน โก๊ะ ก็เสียชีวิตในปีต่อมา
เท่ากับว่า ผลงานนี้ลิขสิทธิ์ได้หมดอายุไปแล้ว ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถนำผลงานนี้มาใช้งานได้
เท่ากับว่า ผลงานนี้ลิขสิทธิ์ได้หมดอายุไปแล้ว ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถนำผลงานนี้มาใช้งานได้
แต่สำหรับกรณีเจ้าของผลงานที่เห็นผลงานของตัวเองถูกลอกไปแล้วอยากจะฟ้องร้อง
ก็จำเป็นต้องศึกษากฎหมายให้ดีเสียก่อน
ก็จำเป็นต้องศึกษากฎหมายให้ดีเสียก่อน
เพราะหากผู้ที่ลอกเลียนแบบไปนั้น ใช้เพียงส่วนหนึ่งของผลงาน
และนำไปต่อยอด โดยที่ไม่ได้ส่งผลเสียต่อเจ้าของผลงาน ก็อาจจะไม่สามารถฟ้องร้องได้
เผลอ ๆ อาจจะถูกอีกฝ่ายฟ้องกลับมา จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้
และนำไปต่อยอด โดยที่ไม่ได้ส่งผลเสียต่อเจ้าของผลงาน ก็อาจจะไม่สามารถฟ้องร้องได้
เผลอ ๆ อาจจะถูกอีกฝ่ายฟ้องกลับมา จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้
แต่ทั้งนี้หากเจ้าของผลงานตั้งใจนำผลงานของตัวเองมาใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือเชิงการค้าอยู่แล้ว
การจดลิขสิทธิ์ก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำผลงานเราไปใช้
การจดลิขสิทธิ์ก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำผลงานเราไปใช้
โดยสามารถจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้
แต่การคุ้มครองจะอยู่แค่เพียงในประเทศเท่านั้น
แต่การคุ้มครองจะอยู่แค่เพียงในประเทศเท่านั้น
หากต้องการป้องกันไม่ให้ถูกเลียนแบบในต่างประเทศ
ก็จำเป็นต้องจดลิขสิทธิ์ในประเทศนั้น ๆ ด้วย
ก็จำเป็นต้องจดลิขสิทธิ์ในประเทศนั้น ๆ ด้วย
ซึ่งที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างข่าวการลอกเลียนแบบผลงาน จนเกิดกรณีการฟ้องร้องขึ้น
อย่างในกรณีล่าสุดที่กระเป๋ารุ่นหนึ่งของแบรนด์ Guess มีหน้าตาที่เหมือนกับ
Bushwick Birkin กระเป๋ารุ่นดังของแบรนด์ Telfar เป็นอย่างมาก
ส่งผลให้แบรนด์ Guess ต้องถอดกระเป๋ารุ่นนั้นออกจากชั้นวางขายทั้งหมด
Bushwick Birkin กระเป๋ารุ่นดังของแบรนด์ Telfar เป็นอย่างมาก
ส่งผลให้แบรนด์ Guess ต้องถอดกระเป๋ารุ่นนั้นออกจากชั้นวางขายทั้งหมด
หรือในกรณีที่ Nike ฟ้อง MSCHF ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
เนื่องจากมีการนำรองเท้ารุ่น Air Max 97 มาดัดแปลงเป็น Satan Shoes
โดยการเติมเลือดคน 1 หยด ลงไปในพื้นรองเท้า
เนื่องจากมีการนำรองเท้ารุ่น Air Max 97 มาดัดแปลงเป็น Satan Shoes
โดยการเติมเลือดคน 1 หยด ลงไปในพื้นรองเท้า
ทั้ง ๆ ที่ MSCHF ก็เคยนำรองเท้ารุ่นนี้ของ Nike มาดัดแปลงแล้วก่อนหน้านี้
โดยทำเป็น Jesus Shoes ที่เติมน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในประเทศจอร์แดน
และทาง Nike ก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใด ๆ กับเรื่องนี้
โดยทำเป็น Jesus Shoes ที่เติมน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในประเทศจอร์แดน
และทาง Nike ก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใด ๆ กับเรื่องนี้
ทำให้เห็นได้ว่าการเอาผิดเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
และที่สำคัญคือยังต้องเป็นความต้องการของเจ้าของผลงานเองด้วย
และที่สำคัญคือยังต้องเป็นความต้องการของเจ้าของผลงานเองด้วย
ซึ่งในยุคปัจจุบันที่โลกมีทั้งเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต
ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถมีพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง
และยังเข้าถึงข้อมูลที่จะนำมาเป็นแรงบันดาลใจได้ง่ายขึ้น
แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการยาก สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดการลอกเลียนแบบ
ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถมีพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง
และยังเข้าถึงข้อมูลที่จะนำมาเป็นแรงบันดาลใจได้ง่ายขึ้น
แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการยาก สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดการลอกเลียนแบบ
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่คิดจะใช้โอกาสนี้หาประโยชน์จากผลงานอื่น
แม้กฎหมายหรือใครจะเอาผิดกับเราไม่ได้ แต่เราก็ย่อมรู้ตัวของเราเอง
แม้กฎหมายหรือใครจะเอาผิดกับเราไม่ได้ แต่เราก็ย่อมรู้ตัวของเราเอง
ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็กลับมาที่คำกล่าวของสตีฟ จอบส์ และปาโบล ปิกัสโซ
การลอกผลงานคนอื่นมา เราก็จะเป็นได้แค่ “ศิลปินที่ดี”
แต่ถ้าเรายังไม่ทำให้หลุดออกจากผลงานคนอื่น ก็จะไม่สามารถก้าวไปเป็น “ศิลปินที่ยิ่งใหญ่” ได้..
การลอกผลงานคนอื่นมา เราก็จะเป็นได้แค่ “ศิลปินที่ดี”
แต่ถ้าเรายังไม่ทำให้หลุดออกจากผลงานคนอื่น ก็จะไม่สามารถก้าวไปเป็น “ศิลปินที่ยิ่งใหญ่” ได้..