Business
ทำไม บางคนเงินเดือนมากขึ้น แต่ยิ่งไม่มีเงินเก็บ อธิบายด้วย ปรากฏการณ์ “Lifestyle Inflation”
15 ต.ค. 2022
ทำไม บางคนเงินเดือนมากขึ้น แต่ยิ่งไม่มีเงินเก็บ อธิบายด้วย ปรากฏการณ์ “Lifestyle Inflation” /โดย ลงทุนเกิร์ล
หลายคนมักคิดว่า เมื่อมีรายได้มากขึ้น เราจะมีโอกาสเก็บเงินได้มากขึ้น
รู้ไหมว่า ยังมีคนจำนวนไม่น้อย ที่เมื่อมีรายได้มากขึ้น แต่กลับไม่สามารถเก็บเงินได้อย่างที่คิดไว้
เรื่องนี้อาจสามารถอธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Lifestyle Inflation”
เรื่องนี้อาจสามารถอธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Lifestyle Inflation”
แล้วปรากฏการณ์ Lifestyle Inflation คืออะไร ?
ทำไมจึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้หลายคนเก็บเงินไม่ได้ ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ทำไมจึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้หลายคนเก็บเงินไม่ได้ ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
ปกติแล้ว “ภาวะเงินเฟ้อ” จะเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ว่าเราจะเป็นใคร
เราก็จะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ และราคาสินค้าที่แพงขึ้นไม่ต่างกัน
เราก็จะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ และราคาสินค้าที่แพงขึ้นไม่ต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย
ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 สูงขึ้น 7.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า
นี่หมายความว่า ค่าครองชีพของคนไทย สูงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน นั่นเอง
ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 สูงขึ้น 7.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า
นี่หมายความว่า ค่าครองชีพของคนไทย สูงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน นั่นเอง
ซึ่งอัตราเงินเฟ้อแบบนี้ จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในวงกว้าง
ยิ่งเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และทรงตัวในระดับสูงนาน ก็ยิ่งทำให้ผู้คนจำนวนมาก เก็บเงินได้ยาก
เพราะภาระค่าครองชีพที่ปรับตัวสูง จากราคาสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มขึ้น
ยิ่งเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และทรงตัวในระดับสูงนาน ก็ยิ่งทำให้ผู้คนจำนวนมาก เก็บเงินได้ยาก
เพราะภาระค่าครองชีพที่ปรับตัวสูง จากราคาสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีเงินเฟ้ออีกประเภทหนึ่ง ที่จะส่งผลกระทบต่อคนบางคนเท่านั้น
หรืออาจบอกได้ว่า เงินเฟ้อแบบนี้เกิดขึ้น “เฉพาะตัวของแต่ละบุคคล”
แถมในบางครั้ง มันก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ของราคาสินค้าและบริการในท้องตลาดทั่วไปเลย
หรืออาจบอกได้ว่า เงินเฟ้อแบบนี้เกิดขึ้น “เฉพาะตัวของแต่ละบุคคล”
แถมในบางครั้ง มันก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ของราคาสินค้าและบริการในท้องตลาดทั่วไปเลย
อธิบายเป็นตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
หากเรามีรายได้ เดือนละ 30,000 บาท และมีค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น
หากเรามีรายได้ เดือนละ 30,000 บาท และมีค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น
-ค่าโทรศัพท์ เดือนละ 1,000 บาท
-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 15,000 บาท
-ค่าเช่าห้อง เดือนละ 4,000 บาท
-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 15,000 บาท
-ค่าเช่าห้อง เดือนละ 4,000 บาท
ดังนั้น เราจะเหลือเงินเก็บ เดือนละ 10,000 บาท หรือสามารถเก็บเงินได้ เดือนละ 33%
เมื่อเวลาผ่านไป หน้าที่การงานของเราเติบโตขึ้น เรามีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น เดือนละ 50,000 บาท
เราจึงเริ่มมองหาการอัปเกรดไลฟ์สไตล์ของเรา เช่น อยากเปลี่ยนแพ็กเกจค่าโทรศัพท์ อยากย้ายไปเช่าห้องที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม หรืออยากเริ่มผ่อนรถมาขับ ค่าใช้จ่ายของเราก็อาจจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น
เราจึงเริ่มมองหาการอัปเกรดไลฟ์สไตล์ของเรา เช่น อยากเปลี่ยนแพ็กเกจค่าโทรศัพท์ อยากย้ายไปเช่าห้องที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม หรืออยากเริ่มผ่อนรถมาขับ ค่าใช้จ่ายของเราก็อาจจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น
-ค่าโทรศัพท์ เดือนละ 2,000 บาท
-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 25,000 บาท
-ค่าเช่าห้อง เดือนละ 10,000 บาท
-ค่าผ่อนรถ เดือนละ 8,000 บาท
-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 25,000 บาท
-ค่าเช่าห้อง เดือนละ 10,000 บาท
-ค่าผ่อนรถ เดือนละ 8,000 บาท
จากกรณีนี้ เราอาจมองว่า ก็ยังทำให้เราเหลือเงินเก็บ เดือนละ 5,000 บาท
ในขณะที่ถ้ามองในแง่ของสัดส่วน จะเป็นการเก็บออมต่อรายได้ที่ลดลง จากเดิม
เดือนละ 33% เหลือเพียงเดือนละ 10% แม้เงินเดือนของเราจะเพิ่มขึ้นมาก็ตาม
ในขณะที่ถ้ามองในแง่ของสัดส่วน จะเป็นการเก็บออมต่อรายได้ที่ลดลง จากเดิม
เดือนละ 33% เหลือเพียงเดือนละ 10% แม้เงินเดือนของเราจะเพิ่มขึ้นมาก็ตาม
หากใครกำลังเป็นแบบนี้ หมายความว่า เรากำลังเจอกับปรากฏการณ์ “Lifestyle Inflation”
หรือก็คือ การที่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของเรานั้น มีมากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
หรือก็คือ การที่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของเรานั้น มีมากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
คำถามที่น่าสนใจต่อมาก็คือ แล้วทำไมเราถึงต้องใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อมีรายได้มากขึ้น ?
โดยทั่วไปแล้ว การที่เรามีรายได้มากขึ้น หลายครั้งเกิดมาจากการทุ่มเทในการทำงานหนัก จนประสบความสำเร็จเรื่องรายได้ และทำให้เรามักที่จะให้รางวัลแก่ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถคันใหม่ การไปเที่ยวต่างประเทศ หรือการซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่
แต่หากมันมากหรือบ่อยเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อการเก็บออมเงินได้เช่นกัน
ทั้งนี้ปรากฏการณ์ Lifestyle Inflation เป็นเรื่องของความชอบในแต่ละบุคคล
บางคนอาจต้องการซื้อความสะดวกสบายให้แก่ตนเอง เมื่อมีรายได้มากขึ้น
ในขณะที่บางคนก็อยากได้สิ่งที่อยากได้มานานแล้ว
เมื่อมีรายได้มากขึ้น พวกเขาก็พร้อมที่จะจ่ายเงิน เพื่อเติมเต็มความต้องการก็เท่านั้น
บางคนอาจต้องการซื้อความสะดวกสบายให้แก่ตนเอง เมื่อมีรายได้มากขึ้น
ในขณะที่บางคนก็อยากได้สิ่งที่อยากได้มานานแล้ว
เมื่อมีรายได้มากขึ้น พวกเขาก็พร้อมที่จะจ่ายเงิน เพื่อเติมเต็มความต้องการก็เท่านั้น
แต่มันจะเป็นปัญหาทันที เมื่อเราเก็บเงินไม่ได้เลย ทั้ง ๆ ที่ควรจะเก็บได้ เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น
ซึ่งทางออกที่เหมาะสม อย่างเช่น
เราอาจกำหนดไปเลย ว่าเราจะใช้จ่ายในจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ไม่ว่ารายได้ของเราจะเป็นเท่าไร
เราอาจกำหนดไปเลย ว่าเราจะใช้จ่ายในจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ไม่ว่ารายได้ของเราจะเป็นเท่าไร
อย่างเช่น ถ้าเรามีรายได้ เดือนละ 30,000 บาท
เราอาจจะกำหนดสัดส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 70% หรือ 21,000 บาท และออม 30% หรือ 9,000 บาท
เราอาจจะกำหนดสัดส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 70% หรือ 21,000 บาท และออม 30% หรือ 9,000 บาท
แล้วถ้าในอนาคต รายได้ของเราเพิ่มขึ้นเป็น เดือนละ 50,000 บาท
เราก็ควรที่จะคงสัดส่วนดังกล่าวให้เหมือนเดิม
เราก็ควรที่จะคงสัดส่วนดังกล่าวให้เหมือนเดิม
ดังนั้น แม้ว่ารายจ่ายจะอยู่ที่ 70% เช่นเดิม แต่จำนวนเงินจริง ๆ จะขยับขึ้นมาเป็น 35,000 บาท
ส่วนเงินสำหรับออม 30% ก็จะอยู่ที่ 15,000 บาท
แบบนี้ก็ทำให้เรามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ส่วนเงินสำหรับออม 30% ก็จะอยู่ที่ 15,000 บาท
แบบนี้ก็ทำให้เรามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ซึ่งก็ต้องบอกว่านอกจาก การกำหนดสัดส่วนของรายจ่าย และการออมต่อรายได้แล้วนั้น
สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ จะอยู่ที่การเข้าใจ และสามารถแยกแยะให้ได้
ระหว่าง “สิ่งที่จำเป็น” กับ “สิ่งที่เราเพียงแค่ต้องการ”
สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ จะอยู่ที่การเข้าใจ และสามารถแยกแยะให้ได้
ระหว่าง “สิ่งที่จำเป็น” กับ “สิ่งที่เราเพียงแค่ต้องการ”
ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องคอยถามตัวเองว่า “ทำไมเราถึงเก็บเงินไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่มีรายได้มากขึ้น” นั่นเอง..
-------------------------------------------
กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป เดินหน้าขยายธุรกิจหาญ เวลเนสแอนด์ฮอสพิทอลลิตี้ (HARNN Wellness & Hospitality) ครอบคลุมทั้งเวลเนสและสปาภายในประเทศและต่างประเทศในระดับ Regional สร้างให้แบรนด์ไทยเป็นที่รู้จักและสร้างความภูมิใจในระดับสากลรวมกว่า 16 สาขาทั่วภูมิภาค
www.facebook.com/TANACHIRAGroup
www.facebook.com/TANACHIRAGroup
#TANACHIRA #HARNN #SCapebyHARNN
-------------------------------------------