เติบโตแบบ ‘วัชมนฟู้ด’ บริษัทผลไม้ 2,000 ล้าน ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต พลิกเกมฝ่าโควิด 19 ด้วย Digital Transformation
Uncategorized

เติบโตแบบ ‘วัชมนฟู้ด’ บริษัทผลไม้ 2,000 ล้าน ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต พลิกเกมฝ่าโควิด 19 ด้วย Digital Transformation

29 เม.ย. 2021
ลงทุนเกิร์ล X The FinLab Powered by UOB
เติบโตแบบ ‘วัชมนฟู้ด’ บริษัทผลไม้ 2,000 ล้าน ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต พลิกเกมฝ่าโควิด 19 ด้วย Digital Transformation
สำหรับช่วงวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา มองไปทางไหนก็มักจะเห็นธุรกิจที่ต้องปิดตัวลง
แต่นี่ก็ไม่ใช่วิกฤตครั้งแรก เพราะถ้าเรามองย้อนไป 30 ปี
คงจะเห็นได้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญหน้ามาแล้ว ทั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ไปจนถึงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554
ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง ก็สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ จนทำให้ธุรกิจหลายรายไปต่อไม่ได้เช่นเดียวกัน
แต่วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ วัชมนฟู้ด หนึ่งในผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลไม้รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
ที่ปรับตัวและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
จึงได้ยืนหยัดต่อสู้จนผ่านวิกฤตมาได้ครั้งแล้วครั้งเล่า
โดยเฉพาะกับวิกฤตล่าสุดที่เป็นจุดเปลี่ยน ให้ปรับองค์กรครั้งใหญ่เข้าสู่วิถีดิจิทัล
ซึ่งไม่ใช่เพื่อการอยู่รอดเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่เป็นการปูเส้นทางการเติบโตในระยะยาว
กว่าจะเป็น วัชมนฟู้ด ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศได้กินผลไม้ดีจากทั่วโลก
กับวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้ผลักดันอุตสาหกรรมผัก ผลไม้ ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผ่านการส่งเสริมความรู้ ในการทานผลไม้ที่หลากหลายและถูกวิธี
บริษัทต้องฝ่าฟันอุปสรรคอะไรมาบ้าง ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟังค่ะ
ก่อนอื่นต้องบอกว่าผลไม้พรีเมี่ยมหลากชนิดที่ทุกคนคุ้นตาตามซูเปอร์มาร์เกต
ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล JAZZ, แอปเปิล Envy, องุ่นแม่มด องุ่นชื่อดังของสหรัฐอเมริกาอย่าง องุ่น moon drop ฯลฯ
วัชมนฟู้ด คือ ผู้อยู่เบื้องหลังการนำเข้าทั้งสิ้น
และนอกจากนำเข้าผลไม้ฝั่งยุโรป อเมริกา
ผลไม้โซนเอเชีย วัชมนฟู้ด ก็เชี่ยวชาญ เป็นทั้งผู้นำอันดับ 1 ในการขายมันหวานญี่ปุ่น มี market share มากกว่า 70%
และนำเข้าอินทผลัม Medjoul ผลไม้ super food จากแดนอาหรับ ครอง market share กว่า 90% อีกด้วย
สำหรับเส้นทางธุรกิจของ วัชมนฟู้ด เราขอเล่าย้อนกลับไปถึงก้าวแรก ในปี 2533
วัชมนฟู้ด เริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ทำธุรกิจนำเข้าส่งออกผลไม้สด
โดยในปี 2540 วัชมนฟู้ด ก็ได้เป็นผู้บุกเบิกการนำเข้าแอปเปิลฟูจิจากประเทศจีน
แรก ๆ ไม่มีคู่แข่งในตลาดมากนัก
จนกระทั่งเริ่มมีการเปิดตลาดการค้าเสรีหรือ FTA ระหว่างประเทศไทยและจีน
จึงทำให้ผู้เล่นในตลาดนี้เพิ่มจำนวนขึ้น
ส่งผลให้วัชมนฟู้ด ซึ่งในขณะนั้นเน้นการนำเข้าผลไม้จากจีน 100% ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ
ทำให้บริษัทเดินเกมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ มุ่งกระจายความเสี่ยงด้วยการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น บริษัทยังได้ใช้เหตุการณ์นี้ เป็นโอกาสปรับโครงสร้างราคาสินค้าและหยุดขายสินค้าที่ทำให้ขาดทุนด้วย
แต่ความท้าทายของวัชมนฟู้ด ก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้
เพราะอีกวิกฤตที่บริษัทต้องเผชิญก็คือ น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554
ในตอนนั้นหลายธุรกิจต้องหยุดชะงักเป็นเวลา 2 - 3 เดือน
แต่ทางด้านวัชมนฟู้ด กลับมองว่าธุรกิจยังต้องดำเนินต่อไปให้ได้
ดังนั้นเมื่อที่ตั้งบริษัทซึ่งอยู่ที่ปทุมธานีถูกน้ำท่วม
วัชมนฟู้ด จึงย้ายฐานการทำงานไปที่แหลมฉบัง เพื่อให้การจัดส่งสินค้าไม่สะดุด
ทำให้วัชมนฟู้ด เป็นบริษัทนำเข้าผลไม้รายเดียว ที่ยังสามารถให้บริการลูกค้าได้ในขณะนั้น
วิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้น กลายเป็นโอกาสของวัชมนฟู้ด
จากที่เคยเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีจำนวนลูกค้าไม่มาก
แต่เหตุการณ์นี้ ก็เป็นการแสดงศักยภาพ ส่งผลให้วัชมนฟู้ด มีฐานลูกค้ากว้างขึ้น
รวมถึงได้เริ่มส่งสินค้าให้กับลูกค้ารายใหญ่ ๆ อย่าง Makro และ Big C
ขยายช่องทางโมเดิร์นเทรดจากเดิมที่จัดจำหน่ายกับทาง Tesco Lotus
พร้อมกันนี้ วัชมนฟู้ด ยังเป็นบริษัทที่ริเริ่มงัดกลยุทธ์ทำการตลาดใหม่ ๆ
ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการนำเข้าผลไม้ให้มีความน่าสนใจและเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา
เรียกได้ว่าการเผชิญหน้ากับวิกฤตแต่ละครั้งของวัชมนฟู้ด กลับเป็นการทำให้บริษัทแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ
แล้วกับวิกฤตครั้งล่าสุด อย่างโควิด 19 วัชมนฟู้ด มีการปรับตัวอย่างไรบ้าง?
จากวิกฤตด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก ฉุกให้วัชมนฟู้ด คิดถึงความยั่งยืนและการเติบโตในระยะยาวของธุรกิจ
หันมาให้ความสำคัญกับการทำ Digital Transformation เริ่มนำดิจิทัลโซลูชันต่าง ๆ มาใช้งาน
ควบคู่ไปกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ปรับ Mindset ของพนักงาน ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเปิดรับทักษะดิจิทัลใหม่ ๆ
แน่นอนว่า การปรับตัวสู่วิถีดิจิทัลให้ทันต่อสถานการณ์ จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางแผน
เพื่อย่นระยะเวลาและลดความเสี่ยงจากการลองผิดลองถูก
วัชมนฟู้ด จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation Programme หรือ SBTP โดย The FinLab Powered by UOB ในปี 2563 ที่ผ่านมา ด้วยจุดประสงค์หลักของโครงการที่มุ่งช่วย SME ในทุกอุตสาหกรรมพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้ ทำให้ วัชมนฟู้ด เข้าใจ Business Model ของตัวเองมากขึ้น
สามารถจัดอันดับความสำคัญ เลือกใช้งานดิจิทัลโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด
ผ่านการแนะนำและจับคู่ดิจิทัลโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจจริง ๆ
อย่างเมื่อก่อน วัชมนฟู้ด มีจำนวนรายการสินค้าไม่เยอะเท่าปัจจุบัน
ทำให้การบันทึกข้อมูลแบบ Manual ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการทำงาน
จนกระทั่งธุรกิจขยายตัวขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ก็มากขึ้นตามไปด้วย
การใช้แรงงานคนเหมือนแต่ก่อน อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดและเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
ทาง The FinLab Powered by UOB จึงได้แนะนำซอฟต์แวร์ Enterprise Resource Planning (ERP) หลากหลายโซลูชันเพื่อให้ลูกค้าได้ลองเปรียบเทียบ และเลือกโซลูชันที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่ง ERP ที่วัชมนฟู้ดได้เลือกใช้คือ SAP จากบริษัท Netizen ที่จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแผนกบนระบบเดียวกันอย่างครบวงจร ทำให้เห็นภาพรวมการทำงานทั่วทั้งองค์กร ตัดสินใจทางธุรกิจได้เฉียบคมขึ้น สามารถนำข้อมูลทั้งหมดไปใช้ต่อยอดวางกลยุทธ์ เพื่อการเติบโตในอนาคต
ขณะเดียวกัน วัชมนฟู้ด ยังเริ่มเห็นแนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงโควิด 19
ปรับตัวสู้วิกฤตอีกครั้ง ผ่านการหันมารุกตลาดออนไลน์ เปิดตัวบริษัท FreshLiving
ซึ่งจะเป็นเหมือนตัวกลาง Marketplace สำหรับซัพพลายเออร์สินค้ากลุ่มอาหาร
โดยในส่วนนี้ The FinLab Powered by UOB ได้ทราบถึงปัญหาของ FreshLiving ที่จะต้องตอบคำถามลูกค้าตลอดวัน ซึ่งทำให้ต้องใช้พนักงานหลายคนในการตอบคำถาม ทาง The FinLab powered by UOB จึงได้แนะนำเทคโนโลยี ZWIZ.AI ซึ่งเป็น แช็ตบอตอัตโนมัติ ช่วยให้ตอบคำถามลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและปิดการขายได้ทันที
ทำให้ยอดขายของ FreshLiving จากเดิมที่อยู่ในระดับ 200,000 บาท
เพิ่มเป็น 2 ล้านบาท ภายในเวลาเพียง 2 เดือน
และมียอดขายเพิ่มเป็นเดือนละ 10 ล้านบาท ภายใน 6 เดือนของการเปิดร้านค้า Online
ทั้งหมดนี้คือ เส้นทางการปรับตัวทางธุรกิจและก้าวข้ามวิกฤตทุกรูปแบบที่พิสูจน์ให้เห็นว่า วัชมนฟู้ด ไม่เคยหยุดพัฒนา
ไม่ว่าจะกี่ปัญหา ก็ผ่านมาได้เป็นอย่างดี และตอนนี้พร้อมแล้วกับเป้าหมายต่อไปที่จะขยายตลาดสู่อาเซียน
สำหรับ SME ที่อยากเตรียมความพร้อม ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อฝ่าทุกวิกฤต เหมือนอย่าง วัชมนฟู้ด
โครงการ SBTP จาก The FinLab Powered by UOB ถือเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจ
นอกจากจะช่วย SME วิเคราะห์ วางแผนจับคู่ใช้งานดิจิทัลโซลูชันที่ใช่แล้ว
ความโดดเด่นของเครือข่ายธนาคาร UOB ในอาเซียน จะช่วยสนับสนุนให้ SME
ที่เข้าร่วมโครงการสามารถขยายธุรกิจออกไปได้ในระดับภูมิภาคผ่านครือข่ายของโครงการได้อีกด้วย
ถ้าใครอยากติดปีก SME ด้วยเทคโนโลยียุคดิจิทัลแบบนี้บ้าง
สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ SBTP และ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://thefinlab.com/ หรือ https://www.facebook.com/thefinlab.th
© 2024 Longtungirl. All rights reserved. Privacy Policy.