Power of Girl เบื้องหลังพลังหญิงของ AIS เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน
Inspiration

Power of Girl เบื้องหลังพลังหญิงของ AIS เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน

8 มี.ค. 2022
AIS x ลงทุนเกิร์ล
“ผู้หญิงเราสามารถเปลี่ยนโลกได้ทั้งใบ”
คำพูดนี้ คงไม่ใช่เรื่องเกินเลยแต่อย่างใดในยุคนี้ เพราะเมื่อมองไปรอบตัว เราจะพบว่าบริษัทระดับโลกหลายแห่งในเวลานี้ ต่างมีซีอีโอและผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้หญิง ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำในหลาย ๆ ประเทศก็เป็นผู้หญิงเช่นกัน
แล้วรู้หรือไม่คะ ว่าบริษัทที่เป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจโทรคมนาคม ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 44 ล้านเลขหมาย
อย่าง AIS ก็มีผู้บริหารระดับสูงหลายคนที่เป็นผู้หญิง
เรื่องนี้ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียวค่ะ
เพราะใครจะคิดว่า AIS ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวของผู้หญิง
แต่กลับมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้หญิงอยู่หลายคน ที่เป็นส่วนผสมในความสำเร็จทางธุรกิจ
ลงทุนเกิร์ล มีโอกาสได้พูดคุยกับ 4 ผู้บริหารระดับสูงของ AIS ที่เป็นผู้หญิง
- คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล AIS
- คุณนัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน AIS
- คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS
- คุณรุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการ พันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS
การพูดคุยครั้งนี้ นอกจากจะทำให้ผู้หญิงอย่างเรา
เชื่อว่า ความสามารถไม่ได้วัดกันที่เพศสภาพแล้วนั้น ยังทำให้รู้เบื้องหลังวิธีคิด การทำธุรกิจของ AIS
โดยลงทุนเกิร์ล จะมาสรุปการพูดคุยครั้งนี้ ให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ ค่ะ
รู้หรือไม่คะ บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยพนักงานผู้หญิงอยู่ที่ 37% ซึ่งถือเป็นอัตราที่น้อยมาก
สวนทางกับ AIS ที่มีพนักงานผู้หญิง 7,812 คนในจำนวนพนักงานเกือบ 14,000 คน
หรือคิดเป็นเกือบ ๆ 60% เลยทีเดียวค่ะ
พอเห็นสถิติแล้ว ก็น่าจะเกิดคำถามที่ว่า AIS ให้ความสำคัญกับเพศหญิงมากแค่ไหน
คำตอบที่ได้จากคุณกานติมา ที่ดูแลด้านทรัพยากรบุคคล เล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจ
เธอบอกว่า AIS ให้ความเสมอภาคทางเพศเท่ากัน
แต่สิ่งที่จะชี้วัดว่าใครจะได้เข้าทำงาน หรือจะได้เลื่อนตำแหน่งในบริษัท
คือไอเดียที่แตกต่างและผลการทำงานที่โดดเด่น โดยบริษัทจะวัดความสามารถอย่างโปร่งใส และเสมอภาค ถือเป็นการสร้างสังคมการแข่งขันในการทำงานในบริษัทที่หลายคนอยากให้เป็น
ที่น่าสนใจคือ คุณกานติมา บอกว่าผู้หญิงยุคนี้ต้องเป็นคนกำหนดความสามารถของตัวเอง ไม่ใช่ให้สังคมเป็นผู้กำหนด
เช่นในสายงาน Tech company ตัวเราเองอาจคิดว่าเหมาะกับผู้ชาย แต่ผู้หญิงที่มีทักษะ และมีความต่างทางไอเดีย ก็สามารถทำงานนี้ได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย เช่นกัน
ได้ยินแบบนี้ เลยพอเข้าใจได้ว่า หากพนักงานผู้หญิงคนไหน มีความสามารถ
เรื่องเพศสภาพจะไม่ใช่กำแพงในการทำงานเลยแม้แต่น้อย
เหมือนอย่าง คุณรุ่งทิพย์ ที่ปัจจุบันเธอเป็นกรรมการผู้จัดการ พันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS ซึ่งในอดีตเธอมักจะได้รับมอบหมายงานที่ท้าทายของบริษัทมาโดยตลอด 24 ปี
ตัวอย่างการทำงานในอดีตของเธอ เช่นการเป็นทีมงานชุดแรก ๆ ในการปลุกปั้น One-2-Call! บริการมือถือแบบเติมเงิน ที่ยุคนั้นมีการแข่งขันรุนแรงเพื่อแย่งชิงลูกค้า
แต่เธอและทีมงานก็สามารถทำให้ AIS เป็นอันดับ 1 ในตลาดนี้ได้จนมาถึงทุกวันนี้
ส่วนภารกิจครั้งใหม่ของเธอ คือสร้าง Digital content และ Digital service ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
เธอบอกว่า ทั้งคอนเทนต์และบริการดิจิทัลต่าง ๆ ต้องเข้าถึงคนไทยทุกคนอย่างเสมอภาค โดยการทำงานกับ AIS ถือเป็นข้อได้เปรียบ
เพราะบริษัทเปิดกว้างให้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา ซึ่งเธอมั่นใจว่าด้วยวิธีการทำงานสไตล์นี้ จะทำให้ AIS ช่วยให้ประเทศไทยแข็งแกร่งด้าน Digital economy ไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ
เรื่องนี้ก็สอดรับกับความเห็นของอีกหนึ่งผู้บริหารหญิง อย่างคุณสายชล หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS ที่เธอบอกว่า AIS ไม่ใช่แค่สร้างคอนเทนต์และบริการดิจิทัลให้เข้าถึงอย่างเดียว
เพราะสิ่งที่ AIS ต้องการคือ ให้ลูกค้าคนไทยเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไปในทางที่ถูก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือเรียกว่า Digital literacy
แล้วนิยาม Digital literacy คืออะไร ทำไมมันถึงสำคัญ
อธิบายง่าย ๆ ค่ะ มันคือทักษะในเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ และการใช้งานระบบดิจิทัลต่าง ๆ
เพราะอย่าลืมว่าเทคโนโลยี มันทำหน้าที่ให้คนเข้าถึงข้อมูล ช่วยทำให้ชีวิตสะดวกสบาย
มนุษย์จึงต้องใช้งานเทคโนโลยีอย่างฉลาด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
ซึ่งหากทำให้คนไทยเข้าใจเรื่องนี้ และใช้ระบบดิจิทัลอย่างชาญฉลาด ย่อมส่งผลดีทั้งในแง่บริษัท AIS และสังคมเศรษฐกิจของประเทศ
วิธีคิดนี้ก็คือ โมเดลธุรกิจความยั่งยืน ที่พักหลัง ๆ เราได้เห็นหลายบริษัททั่วโลกประกาศใช้โมเดลธุรกิจนี้อย่างจริงจัง
โดยคุณนัฐิยา หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน AIS
เล่าให้ฟังว่า เวลานี้นักลงทุนในไทยและทั่วโลก ไม่ได้มองแค่ว่าบริษัททำกำไรได้สูงสุดอย่างเดียว
แต่กำลังมองไปถึงว่าบริษัท คิดเผื่อแค่ไหน ?
คิดเผื่อในที่นี้ หมายถึง นอกจากการทำธุรกิจให้มีกำไร ก็ต้องคิดสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปพร้อม ๆ กับบริษัทด้วย
ทำให้เป้าหมายในการทำงานของเธอคือ ให้ Stakeholder ทั้งในและนอกบริษัทเข้าใจในเรื่องนี้
ถึงจะเป็นเรื่องยากและท้าทาย เพราะธรรมชาติของการทำงาน ทุกคนย่อมคิดต่างกันออกไป
แต่จะทำอย่างไรให้ความเห็นต่างเหล่านี้ ไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้
เป้าหมายที่ว่าคือ AIS ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโตไปพร้อม ๆ กับคนในประเทศไทย และให้ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอะไรก็สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี อย่างเท่าเทียมกัน และใช้มันอย่างชาญฉลาด
พอได้ยินเรื่องความเท่าเทียมในการทำงาน จนถึงการให้อิสระทางความคิด และวิธีดำเนินธุรกิจ
ก็ต้องบอกว่าเป็นเสมือนวิตามินทางใจให้ผู้หญิงอย่างเราก้าวต่อไปในอนาคต
เพราะเชื่อว่าในใจของสาว ๆ หลายคน ก็คงอยากแสดงความสามารถของตัวเองให้คนอื่นเห็น
และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สังคมหรือโลกธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง
เพียงแต่คำว่า “กล้าที่จะเปลี่ยน” คงไม่พอ แต่ต้องมีคนให้ “โอกาส”
เหมือนอย่างที่ AIS ที่เปิดโอกาสเรื่องนี้ โดยไม่ยึดติดกับเพศสภาพของพนักงาน
ก็เลยทำให้ลงทุนเกิร์ลได้เรียนรู้ Power of Girl ที่เป็นต้นแบบ
เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต
© 2024 Longtungirl. All rights reserved. Privacy Policy.